สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

มาตรา 526  ถ้าการให้ทรัพย์สินหรือให้คำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว และผู้ให้ไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้รับไซร้ ท่านว่าผู้รับชอบที่จะเรียกให้ส่งมอบตัวทรัพย์สินหรือราคาแทนทรัพย์สินนั้นได้ แต่ไม่ชอบที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยอีกได้

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6838/2557 เมื่อการให้ของจำเลยที่ ๑ มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยที่ ๑ จึงต้องผูกพันในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเพื่อให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ก่อสร้างสนามกีฬากลางประจำจังหวัด หากจำเลยที่ ๑ ไม่สามารถส่งมอบที่ดินพิพาทไม่ว่าด้วยเหตุประการใดก็ตาม โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย ไม่อาจใช้สอยประโยชน์ที่ดินนั้นได้ จำเลยที่ ๑ จึงต้องใช้ราคาที่ดินแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา ๕๒๖ การที่จำเลยที่ ๑ ทำหนังสือแสดงเจตนามอบที่ดินให้โจทก์โดยระบุว่าเพื่อใช้จัดสร้างสนามกีฬากลางประจำจังหวัดเป็นเพียงเจตนารมย์ของการยกให้เท่านั้น ไม่ใช่วัตถุประสงค์แห่งการชำระหนี้ตามกฎหมายในกรณีนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นการให้กระทำนิติกรรมอย่างหนึ่งนั้นเอง ซึ่งเปิดช่องให้จำเลยที่ ๑ สามารถกระทำได้อยู่แล้วและที่ดินพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถตีเป็นราคาเพื่อใช้เงินแทนได้

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2547 ที่โจทก์ทั้งสี่ฎีกาว่า จำเลยตกลงจะไถ่ถอนจำนองที่ดินแล้วคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ทั้งสี่ภายใน 6 เดือน ไม่เช่นนั้นจะต้องนำเงินจำนวน 500,000 บาท มอบแก่โจทก์ทั้งสี่เพื่อนำไปไถ่ถอนจำนองนั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นคำมั่นว่าจะให้ เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 526 โจทก์ทั้งสี่ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยส่งมอบเงินจำนวนดังกล่าว

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3421/2545 โจทก์เป็นภริยาของ บ. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันหลังจาก บ. ถึงแก่ความตาย โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นของตนเองตลอดมา จำเลยซึ่งเป็นพี่ของ บ. มิได้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย ต่อมาโจทก์ต้องการเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาททางทะเบียนให้ถูกต้อง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจดำเนินการให้ได้เพราะโจทก์กับ บ. มิได้จดทะเบียนสมรสกันจึงแนะนำให้โจทก์ไปตามจำเลยมาขอรับโอนมรดกที่ดินพิพาทของ บ. แล้วให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ภายหลัง ซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้องเพราะขณะนั้นที่ดินพิพาทไม่เป็นทรัพย์มรดกของ บ. แล้ว การที่จำเลยทำหนังสือสัญญาว่าจะให้ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ก่อนไปจดทะเบียนโอนมรดกจึงมิใช่สัญญาจะให้ที่ดิน แต่เป็นสัญญาที่ไม่มีชื่ออย่างหนึ่งที่ไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 526 ดังนั้น ที่จำเลยยื่นคำขอรับมรดกที่ดินพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นการดำเนินการตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์นั่นเอง จำเลยต้องโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาดังกล่าว

บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร

-การต่อเติมภายหลังปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำ

-คนต่างด้าวก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้

-ผู้รับการให้ด่าว่าผู้ให้ ผู้ให้สามารถเพิกถอนการให้ได้

-ยกที่ดินให้แล้ว แต่มีสิทธิเก็บกินโดยไม่ได้จดทะเบียนผลเป็นอย่างไร

-ด่าว่า จัญไร ถอนการให้ได้

-ฟ้องเรียกค่าขาดกำไร เป็นค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ

-หนังสือทวงถามส่งไปที่บ้านตามภูมิลำเนาอ้างว่าไม่ได้รับได้หรือไม่

-การยินยอมของเด็กที่ให้ล่วงละเมิดทางเพศ ยังคงเป็นความผิดฐานละเมิด

-ดูหมิ่นเรียกค่าเสียหายได้เท่าไหร่

-ตั้งใจไปกู้แต่เจ้าหนี้ให้ทำสัญญาขายฝากผลเป็นอย่างไร

-คำมั่นจะให้เช่าเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว

-การโอนสิทธิการเช่าทำได้หรือไม่